Perfomance Prism : ด้าน Controlling
Performance Prism ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยมีสมมติฐานมาจากจุดอ่อนหรือข้อจำกัดของเครื่องมือในการประเมินผลองค์กรอื่นๆ
อาทิเช่น Balanced Scorecard
Performance
Prism มองว่าเครื่องมือในการประเมินผลเช่น Balanced
Scorecard มุ่งเน้นแต่Stakeholders (กลุ่มบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กร)
เพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้น (ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ถือหุ้น ลูกค้า และพนักงาน)
โดยละเลยต่อความต้องการของ Stakeholders กลุ่มอื่นๆ
ยิ่งในปัจจุบันที่สภาวะการดำเนินธุรกิจเริ่มเปลี่ยนไปทำให้บทบาทของ Stakeholders กลุ่มอื่นๆ ทวีความสำคัญขึ้น ทำให้หลักการของ PerformancePrism ถือกำเนิดขึ้นมาโดยมุ่งเน้นที่ Stakeholders แทนที่ Shareholdersเหมือนในกรณีของ Balanced
Scorecard
มุมมองของ Performance
Prism
1. ความพอใจของผู้เกี่ยวข้องกับองค์กร (Stakeholder
Satisfaction) โดยในมุมมองนี้จะพิจารณาว่า
ใครคือ Stakeholders ที่สำคัญขององค์กร และอะไรคือสิ่งที่ Stakeholders ต้องการจากองค์กร?
2. สิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องกับองค์กรมอบให้องค์กร
(Stakeholder Contribution) โดยจะต้องตอบคำถามว่าอะไร คือสิ่งที่องค์กรต้องการจาก Stakeholders หรืออีกนัยหนึ่งคือ
อะไรคือสิ่งที่ Stakeholders แต่ละกลุ่ม มอบให้กับองค์กร
3. กลยุทธ์ (Strategies) เป็นการมองจากมุมมองในสองข้อแรก
แล้วพิจารณาว่าอะไรคือกลยุทธ์ที่จะ
ต้องใช้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของ Stakeholders และในขณะเดียวกันสามารถตอบสนองต่อ ความต้องการขององค์กรด้วย
4. กระบวนการที่สำคัญขององค์กร (Processes) จากกลยุทธ์ในมุมมองที่ผ่านมา อะไรคือกระบวนการที่ องค์กรจะต้องมีเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามกลยุทธ์
5. ความสามารถ (Capabilities) สุดท้ายจากกระบวนการขององค์กร อะไรคือความสามารถที่องค์กรจะ ต้องมี เพื่อที่จะได้สามารถดำเนินกระบวนการข้างต้นได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น