7'S Framework : A Tool for Leading
1. ประวัติความเป็นมา
โครงร่าง 7 เอส ของMcKinsey เป็นตัวแบบซึ่งผู้เรียกขานกันแตกต่างกันไป เช่น McKinsey 7-S Model 7-S Framework (McKinsey) McKinsey & Co’s 7S framework และ 7-S Model ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อการบริหารที่แทนที่จะไปมองเพียงด้านการประยุกต์ใช้กลยุทธ์หรือการจัดโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องกับ กลยุทธ์เท่านั้น เขามองลึกไปกว่านั้น โดยมองไปถึงว่าเมื่อมีกลยุทธ์ที่ดีแล้ว ยังต้องผสมผสานกับสิ่งอื่นใดอีกบ้าง จึงจะสร้างผลลัพธ์ให้เป็นองค์กรที่มีประสิทธิผลขึ้นมาได้
2. องค์ประกอบ 7’s
3. 7’s ใช้เพื่ออะไร
7 เอส ของแมคคินซี่ สามารถนำไปได้ดีในเรื่องการประเมินความเป็นไปได้จริงของแผนกลยุทธ์ที่บริษัทวางแผนไว้ โดยมองออกจากความสามารถขององค์กรที่แท้จริงเป็นสำคัญ
4. ข้อดี/ข้อเสียของ 7’s
แก่นสำคัญของ 7’S บังเอิญกลายเป็นอุปสรรคชิ้นสำคัญในการนำไปใช้ ซึ่งได้แก่การนำเอาด้าน Soft ไปใช้งานนั่นเอง ปัจจุบัน 7’S กลายเป็นเพียงแค่องค์ประกอบหนึ่งในรายการตรวจสอบทางด้านบริหารเท่านั้น การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง S ด้วยกัน หรือการวิเคราะห์หาความขัดแย้งกันเองในแต่ละ S กลายเป็นเรื่องที่ไม่ใคร่มีใครสนใจกันแล้ว ประกอบกับมีโมดลใหม่ ๆ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใช้งานทดแทนได้ดีกว่า ทำให้บทบาทในเรื่องดังกล่าวลดน้อยลงไปจนเหลือเท่าที่เป็นอยู่
5. ขั้นตอนการจัดทำ 7’s
1. นำ Strategic Factor ที่คัดไว้ซึ่งจะมีทั้งที่เป็น จุดแข็ง (S) และจุดอ่อน (W) มาเขียนลงในคอลัมน์(1) ของ ตาราง IFAS (Internal Factors Analysis Summary)
2. ให้น้ำหนักแต่ละ factor ในคอลัมน์ (2) โดยน้ำหนักสูงสุด คือ 1.00 และต่ำสุดคือ 0.00 ซึ่งน้ำหนักของแต่ละปัจจัยรวมกันต้องเท่ากับ 1.00 (การให้น้ำหนักเป็นดุลยพินิจของผู้บริหาร)
3. การให้คะแนนแต่ละ Factor ในคอลัมน์ (3) นั้น คะแนนสูงสุดคือ 5 และคะแนนต่ำสุดคือ 1 (Likert Scale)
4. ในแต่ละ Factor… ให้นำน้ำหนักในคอลัมน์ (2) คูณกับคะแนนในคอลัมน์ (3) ซึ่งจะได้ Weighted score ในคอลัมน์ (4 )
5. ใช้คอลัมน์ (5) ในกรณีที่ต้องการให้เหตุผลกำกับแต่ละ Factor นั้น
6. รวมคะแนนถ่วงน้ำหนัก หรือ Weighted score ในคอลัมน์ (4) ทั้งหมด คะแนนที่ได้จะบอกให้รู้ว่า องค์กรสามารถตอบสนองต่อ Strategic Factor ที่อยู่ในสภาวะแวดล้อมภายในได้ดีเพียงใด
6. มีใครนำ 7’sใช้บ้าง /กรณีศึกษา
เจ้าหนี้เงินกู้ยืม, สถาบันจัดอันดับเครดิต
ที่มา คุณศิริเพชร สุนทรวิภาต
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น