Change Management:การบริหารความเปลี่ยนแปลง
ด้าน Leading
1. ประวัติความเป็นมา
ปัจจุบันการทำธุรกิจเป็นเกมส์การแข่งขันที่มีความซับซ้อน
และทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ
อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วมากขึ้นกว่าในอดีต
ด้วยสาเหตุนี้องค์กรต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อปัจจัยจากสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นให้ได้อย่างเหมาะสม
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และวิชาการสมัยใหม่ จึงมีบทบาทอย่างมากในธุรกิจปัจจุบัน ซึ่งมีผลทำให้เกิดการแข่งขันที่สูง ผู้บริหารธุรกิจในปัจจุบันจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนา
และปรับเปลี่ยนองค์กรของตนเองอยู่เสมอ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
และสภาพของการแข่งขันทางการตลาดที่อาจจะมีผลกระทบต่อองค์กรในอนาคต
2. องค์ประกอบของการจัดการความเปลี่ยนแปลง มีลำดับขั้นตอนดังนี้
1. กระบวนการในการเปลี่ยนแปลง
การละลาย คือ
การละลายพฤติกรรมแบบเดิมๆที่เคยปฏิบัติกันในองค์กร
การเคลื่อนย้าย คือ
การนำสิ่งใหม่ๆเข้ามาแทนที่สิ่งเดิมๆในองค์กร
การทำให้คงตัว คือ
การทำให้สิ่งใหม่ที่เข้ามาแทนที่สิ่งเดิมอยู่คงตัว
2. กลยุทธ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลง
กลยุทธ์แบบเผด็จการ
กลยุทธ์แบบประชาธิปไตย
กลยุทธ์แบบใช้อำนาจตามสายการบังคับบัญชา
3.
เครื่องมือใช้เพื่ออะไร
เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมนั้น ซึ่งจะต้องทราบถึงอิทธิพลของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากปัจจัยภายนอกและ
ภายในองค์การ และเตรียมแผนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่ทันท่วงที โดยจะอาศัยการวิเคราะห์ร่วมกันของทุกฝ่าย อาศัยข้อมูลจากแผนกต่าง ๆ องค์การจะต้องพิจารณาการปรับเปลี่ยนแผนเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลง โดยมีการวางแผนเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การ กำหนดทิศทางการดำเนินงาน
การกำหนดแผนกลยุทธ์เพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ในอนาคต ทั้งนี้โดยการคำนึงถึงจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค
ที่เป็นอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การ
4. ข้อดีและข้อเสีย
ข้อดี :
เพื่อเปลี่ยนจากสิ่งเก่าไปสู่สิ่งใหม่
เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ขององค์การ
เพื่อความยั่งยืนขององค์กร (Sustainability)
เพื่อเพิ่มความสามารถและพัฒนาคนในองค์กร (Self Reliability)
เพื่อความสามารถในการอยู่รอดขององค์กร (Survivability)
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน (Competitive Advantage)
ข้อเสีย :
กระทบต่อคนที่ทำงานในองค์กร
กระทบต่อกระบวนการทำงานภายในองค์กร
กระทบต่อวัฒนธรรมองค์กร
กระทบต่อโครงสร้างองค์กร
5. ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง
1. การสร้าง ทีมเจ้าภาพ
2. การพัฒนาวิสัยทัศน์ของการเปลี่ยนแปลง
3. การวางแผนและกำหนดตัวชีวัด
4. การพัฒนาโครงสร้างที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลง
5. ดำเนินการและ
หยั่งราก การเปลี่ยนแปลง
ที่มาข้อมูล:http://www.training.nida.ac.th/home/attachments/article/89/ChangeManagement.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น