Harrington Emerson
Harrington Emerson มีแนวคิดได้นำเอาวิธีการจัดการแบบวิทยาศาสตร์มาบริหารงานคือ การบริหารตามหลักวิทยาศาสตร์นั้น จะต้องมีการค้นพบ และทดลองเป็นอย่างดีว่า วิธีการนั้น ได้ผลจริง เมื่อประเมินผล สามารถบอกได้ว่า อะไรเกิดขึ้น เกิดขึ้นได้อย่างไร เมื่อไหร่ จึงนำเอาข้อมูลเหล่านั้น มากำหนดเป็นหลักการบริหาร ใช้เพื่อปรับปรุงการจัดการกับประสิทธิภาพของคน โครงสร้าง และเป้าหมายขององค์กร เพื่อผลตอบแทนที่สมเหตุสมผล
องค์ประกอบของหลักประสิทธิภาพ 12 ประการ
1.กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน (Clearly defined ideals)
2.ใช้หลักเหตุผลทั่วไป พิจารณาจากความน่าจะเป็นไปได้ของงาน (Common sense)
3.ให้คำแนะนำที่ดี ที่ถูกต้องสมบูรณ์ (Competent counsel)
4.รักษาระเบียบวินัยในการทำงาน (Discipline)
5.ปฏิบัติงานด้วยความยุติธรรม (Fair deal)
6.มีข้อมูลพร้อมทำงานที่เชื่อถือได้ (Reliable information)
7.มีการรายงานผลการดำเนินงานทุกระยะ (Dispatching)
8.มีมาตรฐานงานเสร็จตามเวลา (Standard and Schedule)
9.ผลงานได้มาตรฐาน (Standardized condition)
10.ดำเนินงานถือเป็นมาตรฐานได้ (Standardized operation)
11.มาตรฐานที่กำหนดสามารถปฏิบัติได้ (Standardized directing)
12. ให้บำเหน็บรางวัล แก่ผู้ปฏิบัติงานดี (Efficiency reward)
ข้อดี และ ข้อเสีย
ข้อดี
ด้วยแนวทางการบริหารแบบนี้ เป็นแบบหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้ผ่านการทดลองมาหลายครั้ง และประเมินผลแล้ว สามารถพิสูจน์ได้ว่า มีประสิทธิผลเพียงไร ซึ่ง Emerson Harrington ได้นำมาใช้ในการบริหารกว่า 200 องค์กร
ข้อเสีย
ด้วยแนวคิดนี้ จะมีการแบ่งงานออกเป็นย่อย ๆ จะถือเอาความรวดเร็ว ให้คนทำงานเฉพาะอย่าง ถือความชำนาญเป็นผลงาน ซึ่งอาจต้องสิ้นเปลืองคน
ใครนำไปใช้ และ ผลสรุปเป็นอย่างไร
Emerson C. Harrington ได้นำไปใช้ในการปรับปรุง พัตนากิจการรถไฟสายแซนทาฟ ให้มีประสิทธิภาพ ปรากฎว่าได้ผลดี สามารถประหยัดเงินได้ถึงวันละ 1 ล้านเหรียญ อเมริกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น