วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

แนวคิดและทฤษฎี Robert H.Waterman,Jr.


Robert  H.Waterman JR

          Robert  H.Waterman JR -- โรเบิร์ต เอช วอเทอร์แมน จูเนียร์   เป็นชาวอเมริกัน  จบกการศึกษา   ปริญญาตรีgeophysicsที่ Colorado School of Mines ปริญญาโท MBA ที่Stanford University
             การทำงาน      Waterman     โด่งดังมาจากผลงานวิจัยที่เอามาเขียนเป็นหนังสือ In Search of   Excellence, เป็นนักพูดเคยเป็นที่ปรึกษาให้กับ McKinsey & Company เป็นเวลา21 ปี  และมีบริษัทที่ปรึกษาของตนเองชื่อ The Waterman Group, Inc. Waterman ใช้คำว่า Adhocracy กับองค์กร ที่นับเป็นจุดเน้น   คำว่าองค์กรที่ถือหลักการ adhocracy จะเป็นองค์กรที่มีโครงสร้างเรียบง่าย ไม่สลับซับซ้อน
แนวคิด
               ยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง องค์กรต้องสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนั้นได้  สิ่งสำคัญที่องค์กรปัจจุบันต้องการมากคือการสร้างสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุนการใช้เทคนิคต่างๆในการแก้ปัญหาในหนังสือ Adhocracy: the Power to Change  ท่านได้ใช้ทักษะจากการเป็นที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการมากว่า 25 ปี นำเสนอวิธีการในการที่จะสร้างองค์กรแบบ adhocracy และผลักดันให้มันทำงานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างทีมงานและการแยกกระจายหน่วยงานที่ใหญ่และซับซ้อนออกเป็นหน่วยย่อย สร้างวัฒนธรรมให้มุ่งเน้นการแก้ปัญหาอย่างเป็นธรรมชาติ
โ                มัส เจ ปีเตอร์ส (Thomas J. Peters) และโรเบิร์ต เอช วอเตอร์แมน จูเนียร์(Robert H.Waterman,Jr.) ในการค้นหาความเป็นเลิศ ในช่วงต้นปี 1977   พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานนอกจากกลยุทธ์และโครงสร้าง ยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์เชื่อมโยงกันทั้งหมด 7 ปัจจัยได้แก่
ซึ่งตัวแปร 2 ตัวแรกคือโครงสร้างและกลยุทธ์ เปรียบเสมือนเป็นส่วนที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ ซึ่งผู้จัดการในอดีตให้ความสนใจ ส่วนตัวแปรอีก 5 ตัวที่ค้นพบใหม่ในอดีตผู้จัดการมักไม่ให้ความสนใจมากนัก ซึ่งเปรียบเสมือนซอฟท์แวร์ แมคคินซีย์ เรียกตัวแปรเหล่านี้ว่ากรอบ7 – S

ประโยชน์ที่ได้รับจากการนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้
องค์กรธุรกิจที่ได้ชื่อเสียง และการยอมรับ ตลอดจนความสัมพันธ์ที่ดีจากสังคม
หุ้นส่วนหรือนักลงทุน ได้รับผลประโยชน์จากราคาหุ้นที่ไม่ถูกกระทบ(กรณีที่บริษัทถูกประท้วง) หรือได้รับการจัดลำดับใน Dow Jones Sustainability Index (เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา)
พนักงานมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน มีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร เกิดความสามัคคี และการสร้าง (Team Building) ขวัญ กำลังใจและความภาคภูมิใจในองค์กร และมีความตั้งใจในการทำงานมากขึ้น
ลูกค้ามีทัศนคติที่ดีต่อองค์กรและส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ และความภักดีในสินค้า และที่สำคัญมีงานวิจัยจำนวนมากที่สอบถามผู้บริโภค โดยส่วนใหญ่ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่แสดงออกชัดเจนในการทำดำเนินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคม หากสินค้ามีคุณภาพใกล้เคียงกัน

แนวคิดและทฤษฎี Thomas J.Peters



 Thomas J.Peters

    แนวคิดนักบริหารกับมิติการจัดการ  : Thomas J. Peters   ผลงานที่ยอดเยี่ยม  คือ  Insearch of Excellence

      คุณสมบัติที่ทำให้องค์กรเป็นเลิศ 8 ประการ
            1.  การมุ่งเน้นที่การปฏิบัติ (Bias for Action)
            2.  การมีความใกล้ชิดกับลูกค้า (Close to the Customer)
            3.  การให้ความอิสระในการทำงานและสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของกิจการ (Autonomy and Entrepreneurship)
            4.  การเพิ่มผลผลิตโดยพนักงาน (Productivity Through People)
            5.  การติดตามงานอย่างใกล้ชิดและการใช้ค่านิยมเป็นแรงผลักดัน (Hands-on and Value Driven)
            6.  การทำแต่ธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญ (Stick to the Knitting)
            7.  การมีรูปแบบที่เรียบง่ายและใช้พนักงานอย่างมีประสิทธิภา   (Simple Form and Lean Staff)
            8.  การเข้มงวดและผ่อนปรนในเวลาเดียวกัน

แนวคิดและทฤษฎี Richard Johnson



Richard Johnson
แนวความคิด : ทฤษฎีเชิงระบบ

แนวคิดหลัก  (key concepts)

 องค์การถูกพิจารณาเป็นระบบเปิด
 การบริหารจัดการต้องมีปฏิกิริยาสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับ ปัจจัยนำเข้าไปสู่ผลผลิต
 วัตถุประสงค์ขององค์การจะต้องมุ่งที่ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
 องค์การจะประกอบด้วยระบบย่อยจำนวนมาก
 มีหลายช่องทางที่จะได้ผลลัพธ์เหมือนกัน
 การรวมตัวจะมีขนาดใหญ่กว่าผลรวมของแต่ละชิ้นส่วน

ส่วนประกอบของแนวคิดเชิงระบบ
1.  เป้าหมาย (Goals )  และทรัพยากร  (Resources)
2.  องค์การ(Organization)และการประสานงาน(Coordination)
3.  การแก้ไขปัญหา  (Solutions) และแนวคิด (Perspectives)

สิ่งที่ให้ประโยชน์  (contribution)
ทำให้ยอมรับความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมภายนอก

ข้อจำกัด 
ไม่สามารถให้คำแนะนำที่เฉพาะเจาะจงในหน้าที่และงานของผู้บริหาร




แนวคิดและทฤษฎี William G.Ouchi


William G.Ouchi

              William G. Ouchi   ศาสตราจารย์ใน University of  California at Los  Angeles  (UCLA)   และได้รับทุนให้ทำการศึกษาจากสถาบัน  National  Commission  On  Productivity   
        ทฤษฎี Z เป็นทฤษฎีทางการบริหารธุรกิจ ที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างการบริหาร ธุรกิจแบบสหรัฐอเมริกา หรือ Theory A   กับการบริหารแบบญี่ปุ่น หรือ Theory J  ทฤษฎี Z เป็นทฤษฎีบริหารงานที่ได้รับ   การยอมรับในวงการบริหารในยุคปัจจุบัน โดยเน้นความร่วมมือในการทำงานของคนงานและเน้นหลักมนุษยสัมพันธ์เป็นสำคัญ 
แนวคิดทฤษฎี Z ของ Ouchi
         ทฤษฎีของ Z ของ Ouchi (Ouchi’s Theory Z) เป็นทฤษฎีอธิบายโครงสร้างตามการจัดการ   ผสมผสานระหว่างการบริหารแบบสหรัฐอเมริกาหรือ Theory A กับการบริหารแบบญี่ปุ่น หรือ Theory J  คือ
ทฤษฎี A เป็นแนวความคิดการจัดการของสหรัฐอเมริกาซึ่งองค์การ   เน้นการจ้างงานระยะสั้น พนักงานมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบต่อองค์การน้อย
ทฤษฎี J เป็นแนวความคิดการจัดการของญี่ปุ่นซึ่งองค์การเป็นการจ้างงานตลอดชีพ พนักงานมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบต่อองค์การสูง
ทฤษฎี Z เป็นแนวความคิดการจัดการประสมประสาน ระหว่างญี่ปุ่นและ สหรัฐอเมริกาโดยเน้นการจ้างงานระยะยาวมีการตัดสินใจและความรับผิดชอบร่วมกัน

แนวคิดและทฤษฎี James Thompson


James Thompson
 แนวคิดและทฤษฎีการจัดการ
        ทฤษฎีเชิงระบบ (systems theory) (ปี 1960) เป็นวิธีการจัดการที่ผสมผสานหน้าที่ในการจัดการกิจกรรมการจัดการและการวางแผนเชิงกลยุทธ์เข้าด้วยกัน โดยพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมภายนอก ทรรศนะที่อธิบายถึงผลกระทบจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีต่อองค์การถูกเสนอโดย แดเนียล แคทซ์
        โรเบิร์ต คาห์น (Robert Kahn) และเจมส์ ธอมป์สัน (James Thompson) นักทฤษฎีเหล่านี้มีมุมมองว่าองค์การเป็นระบบเปิด (open system)ซึ่งถือเป็นระบบที่องค์การได้นำทรัพยากรจากสภาพแวดล้อมภายนอกมาแปรสภาพเป็นสินค้าและบริการ เพื่อส่งกลับไปยังสภาพแวดล้อมในที่ซึ่งสินค้าและบริการได้ขายให้กับลูกค้า นอกจากนั้นผู้นำทางทฤษฎีเชิงระบบเช่น ริชาร์ด จอร์นสัน (Richard Johnson) ฟรีมอนด์ แคสท์ (Fremont Kast)และเจมส์ โรเซนซ์เวจ (James Rosenweig)
แนวคิดเกี่ยวกับองค์การของ  James D.Thompson
องค์การเป็นระบบเปิดที่ทำงานในสภาพที่ ไม่แน่นอน
องค์การพยายามดำเนินงานโดยใช้ความมีเหตุผล เพื่อเป็นการสร้างแน่นอนในการทำงาน
องค์การจะต้องคอยปรับตัวเพื่อให้ทำงานได้ดีที่สุดในสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอน

องค์การจะจัดการกับความไม่แน่นอนโดยการแบ่งหน้าที่ออกเป็น 3 ส่วน คือ
- ส่วนเทคนิค
- ส่วนจัดการ
- ส่วนสถาบัน 

แนวคิดและทฤษฎี Robert E. Wood


Robert E. Wood

            Robert E. Wood   ต่างพยายามสร้างเครื่องมือที่ใช้เป็นกฎเกณฑ์ทางการจัดการ ที่เป็นรูปธรรมขึ้นมา แต่ช่วงนั้นได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นเสียก่อนในระหว่างสงครามโลกหน่วยงานทางทหารต้องเผชิญ    กับปัญหาที่มีความซับซ้อน ทั้งในด้านการจัดระเบียบประชาชนและการส่งกำลังบำรุง 

การจัดการเชิงประมาณ(Quantitative management)

               เพื่อช่วยในการตัดสินใจ โดยใช้คณิตศาสตร์ สถิติและสารสนเทศเป็นเครื่องมือเพื่อแก้ปัญหาทางการจัดการ หลังสงความโลกการจัดการเชิงปริมาณได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากขึ้นในแวดวงธุรกิจ อย่างไรก็ตามการใช้การจัดการเชิงปริมาณยังคงใช้ได้เฉพาะปัญหาที่มีลักษณะเป็นแบบที่มีโครงสร้าง(structured problem) ทฤษฎีวิทยาการจัดการ เป็นวิธีการสมัยใหม่ในด้านการจัดการ ที่เน้นการใช้เทคนิคเชิงปริมาณอย่างเข้มงวด เพื่อช่วยให้ผู้จัดการทำการใช้ทรัพยากรองค์การ เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์และบริการให้มากที่สุด  ในส่วนประกอบที่สำคัญของทฤษฎีวิทยาการจัดการ คือการขยายการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ให้มีความทันสมัย โดยการนำวิธีการเชิงปริมาณเพื่อวัดส่วนประสมของคนงานและงาน เพื่อให้ทีประสิทธิภาพสูงขึ้น

          สำหรับส่วนประกอบที่สำคัญของทฤษฎีวิทยาการจัดการ คือ การขยายการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ให้มีความทันสมัย โดยการนำวิธีการเชิงปริมาณเพื่อวัดส่วนประสมของคนงานและงาน เพื่อให้ทีประสิทธิภาพสูงขึ้น แบ่งเป็น 4 กลุ่ม
         1. การจัดการเชิงปริมาณ (Quantitative management)  โดยใช้เทคนิคคณิตศาสตร์ เช่น โปรแกรมเชิงเส้นตรงและไม่ใช่เส้นตรง (linear and nonlinear programming) ตัวแบบ (modeling) แบบจำลองสถานการณ์ (simulation)  และทฤษฎีแถวคอย (queuing theory) เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้จัดการ

       2. การจัดการการดำเนินการผลิต (Operations management)  ซึ่งประกอบด้วย เทคนิคต่าง ๆ ที่ผู้จัดการสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ลักษณะระบบการผลิตขององค์การเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น แบบจำลองสินค้าคงคลัง(inventory model) และแบบจำลองเครือข่าย(network model) เพื่อปรับปรุงการตัดสินใจปัญหาการจัดจำหน่ายและการดำเนินการ
         3. การจัดการคุณภาพโดยรวม  (Total Quality Management:TQM) 
            เป็นการจัดการคุณภาพของหน่วยงานในองค์การทั้งหมด ซึ่งประกอบได้ด้วยฝ่ายต่างๆ ที่ผู้จัดการสามารถนำเทคนิคต่าง ๆ ไปใช้ในการวิเคราะห์ระบบการผลิตในองค์การเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ  เช่นแบบจำลองสินค้าคงคลัง(inventory model) และแบบจำลองเครือข่าย(network model)เพื่อปรับปรุงการตัดสินใจปัญหาการจัดจำหน่าย โดยะเน้นการวิเคราะห์ปัจจัยนำเข้าในกระบวนการเพื่อแปรสภาพให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพของผลิตภัณฑ์
       4.  ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ   (management information systems)
              เป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้จัดการออกแบบระบบสารสนเทศ เพื่อจัดสารสนเทศเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกองค์การ เพื่อประกอบการตัดสินใจให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการยังช่วยให้ผู้จัดการและบุคลากรในระดับต่างๆ ได้รับสารสนเทศที่จำเป็นต่อการนำไปใช้ประโยชน์และมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจอย่างไรก็ตามในการนำทฤษฎีวิทยาการจัดการไปใช้ประโยชน์นั้น ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ(information technology)ได้เข้ามามีส่วนในการปรับปรุงคุณภาพการตัดสินใจและเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การได้เป็นอย่างดี และถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์การ

แนวคิดและทฤษฎี Hugo Munsterberg


Hugo Munsterberg          Hugo Munsterberg ( ปี 1863 – 1916 ) เกิดวันที่  1 มิถุนายน 1863 ที่เมือง Danzigประเทศ Germany การศึกษา 1882 ที่  University of Geneva University of leipzig
            มันสเตอร์เบิร์ก เป็นนักจิตวิทยาของสถาบันฝึกอบรม วิลเลียม เจมส์ (William James)  นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน         ได้เชิญมันสเตอร์เบิร์กไปสอนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด     เป็นที่ที่เขาได้ทดลองประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ประกอบด้วย  การรับรู้  และความเอาใจใส่เขามีชื่อเสียงมากในวงการศึกษาของชาวอเมริกันเขาได้ถูกเชิญให้ไปบรรยายตามที่ต่างๆ  และเป็นเพื่อนกับประธานาธิบดีรูสเวลท์   (Theodore Roosevelt)   มันสเตอร์เบิร์กให้ความสนใจกับการประยุกต์จิตวิทยามาใช้ในการแก้ปัญหาในการทำงานศึกษาความแตกต่างระหว่างบุคคล  โดยมันสเตอร์เบิร์กเชื่อว่าจิตวิทยาสังคมสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับปัญหา ในทางปฏิบัติของอุตสาหกรรมหนึ่งของ มันสเตอร์เบิร์ก ที่นำมาใช้ทุกวันนี้มีการศึกษาเกี่ยวกับการตัดสินใจทำให้คนขับรถบรรทุกมีความปลอดภัย เขาศึกษาอย่างเป็นระบบในลักษณะทั้งหมดของการทำงาน การพัฒนา ห้องปฏิบัติการที่ประดิษฐ์รถบรรทุก และรวมทั้งผู้ปฏิบัติการที่ดีสามารถเข้าใจพร้อมกันทั้งหมดเกี่ยวกับความก้าวหน้าของรถยนต์

สิ่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับ Hugo Munsterberg
       เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในการคิดค้นทฤษฎีองค์การสมัยใหม่เป็นผู้เริ่มต้นวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม เขียนหนังสือชื่อ Psychology and Industrial Efficiency,Hugo Munsterberg  จึงได้ชื่อว่าเป็น   บิดาแห่งจิตวิทยาอุตสาหกรรม

แนวคิดของ  Hugo Munsterberg
          แนวคิดเชิงพฤติกรรม  (The Behavior Viewpoint)  เน้นถึงความสำคัญของการเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์และการจูงใจเพื่อความสำเร็จ
         Hugo Munsterberg   เป็นผู้ริเริ่มวิธีการเกี่ยวกับจิตวิทยาอุตสาหกรรมหรือโรงงาน  หรือการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับบุคคล    เพื่อปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตให้มากที่สุดการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ จะเป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับโน้มน้าวจิตใจหรือดึงดูดใจคนทำงาน
ผลงานของที่สร้างชื่อให้ Hugo Munsterberg   Psychology  and Industrial   Efficiency” 

สาระสำคัญ “Psychology  and Industrial   Efficiency
-  ใช้วิธีการสรรหาบุคลากรที่มีคุณภาพด้านจิตใจและคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดที่จะทำงานนั้น
-  ใช้วิธีการส่งเสริมสภาวะทางจิตวิทยาของคนในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อจูงใจให้คนงานทุกระดับมีความสามารถ 
    สร้างผลผลิตได้อย่างเต็มความสามารถเพื่อก่อให้เกิดผลผลิตสูงสุด และเป็นที่น่าพอใจโดยมีการฝึกอบรมคนงานเพื่อให้
    เกิดการเรียนรู้และนำประสบการณ์ใหม่ๆ มาใช้ทดแทนอย่างเหมาะสม
-  การให้ข้อเสนอแนะในการฝึกอบรมคนงาน  การบรรจุ แต่งตั้ง หรือการทำให้เกิดอิทธิพลต่อคนงานหรือจูงใจเพื่อให้
    เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สูด คือ ค่านิยมร่วมกัน ระหว่างผู้บริหารและคนงาน