Edward Damming
ดับเบิ้ลยู เอ็ดเวิร์ดส เดมมิ่ง (W. Edwards Deming) เป็นผู้นำแนวความคิดเชิงสถิติ (Statistical Thinking) และวิธีการปรับปรุงคุณภาพ (Methods for Quality Improvement) มาสู่ประเทศญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงเวลานั้นวงการอุตสาหกรรมของประเทศสหรัฐอเมริกา เติบโตเป็นอย่างมาก เนื่องจากอเมริกาเป็นผู้ชนะสงคราม สินค้าทุกชนิดที่สามารถผลิตได้ ก็จะสามารถขายได้แน่นอน ต่างจากสถานการณ์ของญี่ป่นซึ่งเป็นผู้แพ้สงคราม ฐานสำคัญของอุตสาหกรรมซึ่งได้รับความเสียหายจากระเบิดปรมาณู กำลังถูกปรับปรุงขึ้นใหม่ ทรัพยากรธรรมชาติที่ได้รับความเสียหายก็มีน้อยลง และชื่อเสียงในการผลิตสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ ก็แพร่กระจายไปทั่ว ผู้บริหารของญี่ปุ่นจึงได้หันมาสนใจในแนวความคิดของเดมมิ่ง และได้เชิญเขามายังญี่ปุ่น ซึ่งผู้บริหารของญี่ปุ่นได้ทำความเข้าใจกับปรัชญาคุณภาพของเดมมิ่ง และนำหลักการทางสถิติมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพ
เดมมิ่งพบว่าบรรยากาศของญี่ปุ่น เป็นไปในทางที่จะสนับสนุนแนวความคิดของเขา นั่นคือ ชาวญี่ปุ่นมีพื้นฐานทางสถิติและคณิตศาสตร์ที่ดี ผู้บริหารของญี่ปุ่นมีความกระตือรือร้น ที่จะฟังความคิดของเขา สิ่งแรกที่เขาบรรยายในการสัมมนา คือ กฎข้อบังคับและหน้าที่ของผู้บริหาร ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในนาม ปรัชญาคุณภาพ 14 ข้อของเดมมิ่ง(Deming’s 14 Points) ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริหารจะต้องยึดถือและปฏิบัติเป็นอันดับแรก
ปรัชญาคุณภาพ 14 ข้อของเดมมิ่ง (Deming’s 14 Points)
1. สร้างวัตถุประสงค์แน่วแน่ในการปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการ
2. นำเอาปรัชญาใหม่มาใช้: การไม่ยอมรับความไม่มีคุณภาพ
3. หยุดใช้หลักการตรวจสอบคุณภาพที่ตัวสินค้า: ปรับปรุงที่กระบวนการทำงาน
4. หยุดเลือกผู้ส่งมอบสินค้าที่ราคาถูกแต่เลือกโดยเน้นที่คุณภาพ
5. เป็นหน้าที่หลักของการจัดการที่จะปรับปรุง กระบวนการทำงาน สินค้า และบริการอย่างต่อเนื่อง
6. จัดให้มีการอบรม
7. จัดให้มีการพัฒนาผู้นำ: ช่วยเหลือ ชี้แนะ
8. กำจัดความเกลียดกลัว สอนให้กล้าถาม กล้าเสนอความเห็น กล้าคิดและกล้าทำ
9. กำจัดอุปสรรคการทำงานระหว่างส่วนงาน: สอนให้ทำงานเป็นทีม โดยคำนึงถึงวัตุถประสงค์และเป้าหมายองค์กรมากกว่าวัตถุประสงค์ของสายงานหรือส่วนงาน
10. เลิกใช้ Slogan ภาพรวมสำหรับพนักงาน: หากพนักงานทำงานเป็นทีมและต้องการมีSlogan ของทีม องค์กรต้องยอมให้ทำได้
11. เลิกเน้นที่จำนวนตัวเลข: เน้นที่คุณภาพ
12. กำจัดอุปสรรคที่ไม่เอื้อต่อการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย: ไร้ภาวะผู้นำ ขาดการการอบรมที่เพียงพอ ขาดเครื่องมือ หรือกระบวนการทำงานไม่มีประสิทธิภาพ
13. จัดให้มีการให้ความรู้และอบรมแก่พนักงานทุกระดับทั้งผู้บริหารและพนักงานต้องมีการอบรมเรื่อง Total quality เครื่องมือทางสถิติ และการทำงานเป็นทีม
14. ลงมือทำ เพื่อให้การปรับเปลี่ยนองค์กร: คุณภาพเป็นเรื่องของทุกคน ทั้งผู้บริหารสูงสุด จนถึงพนังงานระดับล่างสุด ผู้นำต้องมีความมุ่งมั่นและสนับสนุนเรื่องคุณภาพ
2. นำเอาปรัชญาใหม่มาใช้: การไม่ยอมรับความไม่มีคุณภาพ
3. หยุดใช้หลักการตรวจสอบคุณภาพที่ตัวสินค้า: ปรับปรุงที่กระบวนการทำงาน
4. หยุดเลือกผู้ส่งมอบสินค้าที่ราคาถูกแต่เลือกโดยเน้นที่คุณภาพ
5. เป็นหน้าที่หลักของการจัดการที่จะปรับปรุง กระบวนการทำงาน สินค้า และบริการอย่างต่อเนื่อง
6. จัดให้มีการอบรม
7. จัดให้มีการพัฒนาผู้นำ: ช่วยเหลือ ชี้แนะ
8. กำจัดความเกลียดกลัว สอนให้กล้าถาม กล้าเสนอความเห็น กล้าคิดและกล้าทำ
9. กำจัดอุปสรรคการทำงานระหว่างส่วนงาน: สอนให้ทำงานเป็นทีม โดยคำนึงถึงวัตุถประสงค์และเป้าหมายองค์กรมากกว่าวัตถุประสงค์ของสายงานหรือส่วนงาน
10. เลิกใช้ Slogan ภาพรวมสำหรับพนักงาน: หากพนักงานทำงานเป็นทีมและต้องการมีSlogan ของทีม องค์กรต้องยอมให้ทำได้
11. เลิกเน้นที่จำนวนตัวเลข: เน้นที่คุณภาพ
12. กำจัดอุปสรรคที่ไม่เอื้อต่อการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย: ไร้ภาวะผู้นำ ขาดการการอบรมที่เพียงพอ ขาดเครื่องมือ หรือกระบวนการทำงานไม่มีประสิทธิภาพ
13. จัดให้มีการให้ความรู้และอบรมแก่พนักงานทุกระดับทั้งผู้บริหารและพนักงานต้องมีการอบรมเรื่อง Total quality เครื่องมือทางสถิติ และการทำงานเป็นทีม
14. ลงมือทำ เพื่อให้การปรับเปลี่ยนองค์กร: คุณภาพเป็นเรื่องของทุกคน ทั้งผู้บริหารสูงสุด จนถึงพนังงานระดับล่างสุด ผู้นำต้องมีความมุ่งมั่นและสนับสนุนเรื่องคุณภาพ
วงจร PDCA หรือ วงจรเด็มมิ่ง
PLAN วางแผน
- วางแผนการปฏิบัติงาน
- วางแผนการดำเนินงาน
- วางแผนการปรับปรุงงาน
DO ปฏิบัติ
- ทำให้ถูกต้อง
- ตรวจสอบทุกขั้นตอน
CHECK ตรวจสอบ
- ตรวจสอบวิธีการ
- ตรวจสอบระยะเวลา
- ประเมินผลการดำเนินงาน
ACTION ปรับปรุง
- ประสบความสำเร็จ
- ข้อบกพร่อง
- การปรับปรุง
ข้อดีของ PDCA
- สามารถจัดการงานประจำวันได้ดีขึ้น
- สามารถแก้ไขปัญหาได้
- ช่วยในการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
- ช่วยปรับเปลี่ยนการทดอลงกระบวนการใหม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น