วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

แนวคิดและทฤษฎี Robert H.Waterman,Jr.


Robert  H.Waterman JR

          Robert  H.Waterman JR -- โรเบิร์ต เอช วอเทอร์แมน จูเนียร์   เป็นชาวอเมริกัน  จบกการศึกษา   ปริญญาตรีgeophysicsที่ Colorado School of Mines ปริญญาโท MBA ที่Stanford University
             การทำงาน      Waterman     โด่งดังมาจากผลงานวิจัยที่เอามาเขียนเป็นหนังสือ In Search of   Excellence, เป็นนักพูดเคยเป็นที่ปรึกษาให้กับ McKinsey & Company เป็นเวลา21 ปี  และมีบริษัทที่ปรึกษาของตนเองชื่อ The Waterman Group, Inc. Waterman ใช้คำว่า Adhocracy กับองค์กร ที่นับเป็นจุดเน้น   คำว่าองค์กรที่ถือหลักการ adhocracy จะเป็นองค์กรที่มีโครงสร้างเรียบง่าย ไม่สลับซับซ้อน
แนวคิด
               ยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง องค์กรต้องสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนั้นได้  สิ่งสำคัญที่องค์กรปัจจุบันต้องการมากคือการสร้างสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุนการใช้เทคนิคต่างๆในการแก้ปัญหาในหนังสือ Adhocracy: the Power to Change  ท่านได้ใช้ทักษะจากการเป็นที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการมากว่า 25 ปี นำเสนอวิธีการในการที่จะสร้างองค์กรแบบ adhocracy และผลักดันให้มันทำงานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างทีมงานและการแยกกระจายหน่วยงานที่ใหญ่และซับซ้อนออกเป็นหน่วยย่อย สร้างวัฒนธรรมให้มุ่งเน้นการแก้ปัญหาอย่างเป็นธรรมชาติ
โ                มัส เจ ปีเตอร์ส (Thomas J. Peters) และโรเบิร์ต เอช วอเตอร์แมน จูเนียร์(Robert H.Waterman,Jr.) ในการค้นหาความเป็นเลิศ ในช่วงต้นปี 1977   พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานนอกจากกลยุทธ์และโครงสร้าง ยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์เชื่อมโยงกันทั้งหมด 7 ปัจจัยได้แก่
ซึ่งตัวแปร 2 ตัวแรกคือโครงสร้างและกลยุทธ์ เปรียบเสมือนเป็นส่วนที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ ซึ่งผู้จัดการในอดีตให้ความสนใจ ส่วนตัวแปรอีก 5 ตัวที่ค้นพบใหม่ในอดีตผู้จัดการมักไม่ให้ความสนใจมากนัก ซึ่งเปรียบเสมือนซอฟท์แวร์ แมคคินซีย์ เรียกตัวแปรเหล่านี้ว่ากรอบ7 – S

ประโยชน์ที่ได้รับจากการนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้
องค์กรธุรกิจที่ได้ชื่อเสียง และการยอมรับ ตลอดจนความสัมพันธ์ที่ดีจากสังคม
หุ้นส่วนหรือนักลงทุน ได้รับผลประโยชน์จากราคาหุ้นที่ไม่ถูกกระทบ(กรณีที่บริษัทถูกประท้วง) หรือได้รับการจัดลำดับใน Dow Jones Sustainability Index (เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา)
พนักงานมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน มีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร เกิดความสามัคคี และการสร้าง (Team Building) ขวัญ กำลังใจและความภาคภูมิใจในองค์กร และมีความตั้งใจในการทำงานมากขึ้น
ลูกค้ามีทัศนคติที่ดีต่อองค์กรและส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ และความภักดีในสินค้า และที่สำคัญมีงานวิจัยจำนวนมากที่สอบถามผู้บริโภค โดยส่วนใหญ่ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่แสดงออกชัดเจนในการทำดำเนินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคม หากสินค้ามีคุณภาพใกล้เคียงกัน

แนวคิดและทฤษฎี Thomas J.Peters



 Thomas J.Peters

    แนวคิดนักบริหารกับมิติการจัดการ  : Thomas J. Peters   ผลงานที่ยอดเยี่ยม  คือ  Insearch of Excellence

      คุณสมบัติที่ทำให้องค์กรเป็นเลิศ 8 ประการ
            1.  การมุ่งเน้นที่การปฏิบัติ (Bias for Action)
            2.  การมีความใกล้ชิดกับลูกค้า (Close to the Customer)
            3.  การให้ความอิสระในการทำงานและสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของกิจการ (Autonomy and Entrepreneurship)
            4.  การเพิ่มผลผลิตโดยพนักงาน (Productivity Through People)
            5.  การติดตามงานอย่างใกล้ชิดและการใช้ค่านิยมเป็นแรงผลักดัน (Hands-on and Value Driven)
            6.  การทำแต่ธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญ (Stick to the Knitting)
            7.  การมีรูปแบบที่เรียบง่ายและใช้พนักงานอย่างมีประสิทธิภา   (Simple Form and Lean Staff)
            8.  การเข้มงวดและผ่อนปรนในเวลาเดียวกัน

แนวคิดและทฤษฎี Richard Johnson



Richard Johnson
แนวความคิด : ทฤษฎีเชิงระบบ

แนวคิดหลัก  (key concepts)

 องค์การถูกพิจารณาเป็นระบบเปิด
 การบริหารจัดการต้องมีปฏิกิริยาสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับ ปัจจัยนำเข้าไปสู่ผลผลิต
 วัตถุประสงค์ขององค์การจะต้องมุ่งที่ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
 องค์การจะประกอบด้วยระบบย่อยจำนวนมาก
 มีหลายช่องทางที่จะได้ผลลัพธ์เหมือนกัน
 การรวมตัวจะมีขนาดใหญ่กว่าผลรวมของแต่ละชิ้นส่วน

ส่วนประกอบของแนวคิดเชิงระบบ
1.  เป้าหมาย (Goals )  และทรัพยากร  (Resources)
2.  องค์การ(Organization)และการประสานงาน(Coordination)
3.  การแก้ไขปัญหา  (Solutions) และแนวคิด (Perspectives)

สิ่งที่ให้ประโยชน์  (contribution)
ทำให้ยอมรับความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมภายนอก

ข้อจำกัด 
ไม่สามารถให้คำแนะนำที่เฉพาะเจาะจงในหน้าที่และงานของผู้บริหาร




แนวคิดและทฤษฎี William G.Ouchi


William G.Ouchi

              William G. Ouchi   ศาสตราจารย์ใน University of  California at Los  Angeles  (UCLA)   และได้รับทุนให้ทำการศึกษาจากสถาบัน  National  Commission  On  Productivity   
        ทฤษฎี Z เป็นทฤษฎีทางการบริหารธุรกิจ ที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างการบริหาร ธุรกิจแบบสหรัฐอเมริกา หรือ Theory A   กับการบริหารแบบญี่ปุ่น หรือ Theory J  ทฤษฎี Z เป็นทฤษฎีบริหารงานที่ได้รับ   การยอมรับในวงการบริหารในยุคปัจจุบัน โดยเน้นความร่วมมือในการทำงานของคนงานและเน้นหลักมนุษยสัมพันธ์เป็นสำคัญ 
แนวคิดทฤษฎี Z ของ Ouchi
         ทฤษฎีของ Z ของ Ouchi (Ouchi’s Theory Z) เป็นทฤษฎีอธิบายโครงสร้างตามการจัดการ   ผสมผสานระหว่างการบริหารแบบสหรัฐอเมริกาหรือ Theory A กับการบริหารแบบญี่ปุ่น หรือ Theory J  คือ
ทฤษฎี A เป็นแนวความคิดการจัดการของสหรัฐอเมริกาซึ่งองค์การ   เน้นการจ้างงานระยะสั้น พนักงานมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบต่อองค์การน้อย
ทฤษฎี J เป็นแนวความคิดการจัดการของญี่ปุ่นซึ่งองค์การเป็นการจ้างงานตลอดชีพ พนักงานมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบต่อองค์การสูง
ทฤษฎี Z เป็นแนวความคิดการจัดการประสมประสาน ระหว่างญี่ปุ่นและ สหรัฐอเมริกาโดยเน้นการจ้างงานระยะยาวมีการตัดสินใจและความรับผิดชอบร่วมกัน

แนวคิดและทฤษฎี James Thompson


James Thompson
 แนวคิดและทฤษฎีการจัดการ
        ทฤษฎีเชิงระบบ (systems theory) (ปี 1960) เป็นวิธีการจัดการที่ผสมผสานหน้าที่ในการจัดการกิจกรรมการจัดการและการวางแผนเชิงกลยุทธ์เข้าด้วยกัน โดยพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมภายนอก ทรรศนะที่อธิบายถึงผลกระทบจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีต่อองค์การถูกเสนอโดย แดเนียล แคทซ์
        โรเบิร์ต คาห์น (Robert Kahn) และเจมส์ ธอมป์สัน (James Thompson) นักทฤษฎีเหล่านี้มีมุมมองว่าองค์การเป็นระบบเปิด (open system)ซึ่งถือเป็นระบบที่องค์การได้นำทรัพยากรจากสภาพแวดล้อมภายนอกมาแปรสภาพเป็นสินค้าและบริการ เพื่อส่งกลับไปยังสภาพแวดล้อมในที่ซึ่งสินค้าและบริการได้ขายให้กับลูกค้า นอกจากนั้นผู้นำทางทฤษฎีเชิงระบบเช่น ริชาร์ด จอร์นสัน (Richard Johnson) ฟรีมอนด์ แคสท์ (Fremont Kast)และเจมส์ โรเซนซ์เวจ (James Rosenweig)
แนวคิดเกี่ยวกับองค์การของ  James D.Thompson
องค์การเป็นระบบเปิดที่ทำงานในสภาพที่ ไม่แน่นอน
องค์การพยายามดำเนินงานโดยใช้ความมีเหตุผล เพื่อเป็นการสร้างแน่นอนในการทำงาน
องค์การจะต้องคอยปรับตัวเพื่อให้ทำงานได้ดีที่สุดในสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอน

องค์การจะจัดการกับความไม่แน่นอนโดยการแบ่งหน้าที่ออกเป็น 3 ส่วน คือ
- ส่วนเทคนิค
- ส่วนจัดการ
- ส่วนสถาบัน 

แนวคิดและทฤษฎี Robert E. Wood


Robert E. Wood

            Robert E. Wood   ต่างพยายามสร้างเครื่องมือที่ใช้เป็นกฎเกณฑ์ทางการจัดการ ที่เป็นรูปธรรมขึ้นมา แต่ช่วงนั้นได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นเสียก่อนในระหว่างสงครามโลกหน่วยงานทางทหารต้องเผชิญ    กับปัญหาที่มีความซับซ้อน ทั้งในด้านการจัดระเบียบประชาชนและการส่งกำลังบำรุง 

การจัดการเชิงประมาณ(Quantitative management)

               เพื่อช่วยในการตัดสินใจ โดยใช้คณิตศาสตร์ สถิติและสารสนเทศเป็นเครื่องมือเพื่อแก้ปัญหาทางการจัดการ หลังสงความโลกการจัดการเชิงปริมาณได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากขึ้นในแวดวงธุรกิจ อย่างไรก็ตามการใช้การจัดการเชิงปริมาณยังคงใช้ได้เฉพาะปัญหาที่มีลักษณะเป็นแบบที่มีโครงสร้าง(structured problem) ทฤษฎีวิทยาการจัดการ เป็นวิธีการสมัยใหม่ในด้านการจัดการ ที่เน้นการใช้เทคนิคเชิงปริมาณอย่างเข้มงวด เพื่อช่วยให้ผู้จัดการทำการใช้ทรัพยากรองค์การ เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์และบริการให้มากที่สุด  ในส่วนประกอบที่สำคัญของทฤษฎีวิทยาการจัดการ คือการขยายการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ให้มีความทันสมัย โดยการนำวิธีการเชิงปริมาณเพื่อวัดส่วนประสมของคนงานและงาน เพื่อให้ทีประสิทธิภาพสูงขึ้น

          สำหรับส่วนประกอบที่สำคัญของทฤษฎีวิทยาการจัดการ คือ การขยายการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ให้มีความทันสมัย โดยการนำวิธีการเชิงปริมาณเพื่อวัดส่วนประสมของคนงานและงาน เพื่อให้ทีประสิทธิภาพสูงขึ้น แบ่งเป็น 4 กลุ่ม
         1. การจัดการเชิงปริมาณ (Quantitative management)  โดยใช้เทคนิคคณิตศาสตร์ เช่น โปรแกรมเชิงเส้นตรงและไม่ใช่เส้นตรง (linear and nonlinear programming) ตัวแบบ (modeling) แบบจำลองสถานการณ์ (simulation)  และทฤษฎีแถวคอย (queuing theory) เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้จัดการ

       2. การจัดการการดำเนินการผลิต (Operations management)  ซึ่งประกอบด้วย เทคนิคต่าง ๆ ที่ผู้จัดการสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ลักษณะระบบการผลิตขององค์การเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น แบบจำลองสินค้าคงคลัง(inventory model) และแบบจำลองเครือข่าย(network model) เพื่อปรับปรุงการตัดสินใจปัญหาการจัดจำหน่ายและการดำเนินการ
         3. การจัดการคุณภาพโดยรวม  (Total Quality Management:TQM) 
            เป็นการจัดการคุณภาพของหน่วยงานในองค์การทั้งหมด ซึ่งประกอบได้ด้วยฝ่ายต่างๆ ที่ผู้จัดการสามารถนำเทคนิคต่าง ๆ ไปใช้ในการวิเคราะห์ระบบการผลิตในองค์การเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ  เช่นแบบจำลองสินค้าคงคลัง(inventory model) และแบบจำลองเครือข่าย(network model)เพื่อปรับปรุงการตัดสินใจปัญหาการจัดจำหน่าย โดยะเน้นการวิเคราะห์ปัจจัยนำเข้าในกระบวนการเพื่อแปรสภาพให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพของผลิตภัณฑ์
       4.  ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ   (management information systems)
              เป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้จัดการออกแบบระบบสารสนเทศ เพื่อจัดสารสนเทศเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกองค์การ เพื่อประกอบการตัดสินใจให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการยังช่วยให้ผู้จัดการและบุคลากรในระดับต่างๆ ได้รับสารสนเทศที่จำเป็นต่อการนำไปใช้ประโยชน์และมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจอย่างไรก็ตามในการนำทฤษฎีวิทยาการจัดการไปใช้ประโยชน์นั้น ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ(information technology)ได้เข้ามามีส่วนในการปรับปรุงคุณภาพการตัดสินใจและเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การได้เป็นอย่างดี และถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์การ

แนวคิดและทฤษฎี Hugo Munsterberg


Hugo Munsterberg          Hugo Munsterberg ( ปี 1863 – 1916 ) เกิดวันที่  1 มิถุนายน 1863 ที่เมือง Danzigประเทศ Germany การศึกษา 1882 ที่  University of Geneva University of leipzig
            มันสเตอร์เบิร์ก เป็นนักจิตวิทยาของสถาบันฝึกอบรม วิลเลียม เจมส์ (William James)  นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน         ได้เชิญมันสเตอร์เบิร์กไปสอนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด     เป็นที่ที่เขาได้ทดลองประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ประกอบด้วย  การรับรู้  และความเอาใจใส่เขามีชื่อเสียงมากในวงการศึกษาของชาวอเมริกันเขาได้ถูกเชิญให้ไปบรรยายตามที่ต่างๆ  และเป็นเพื่อนกับประธานาธิบดีรูสเวลท์   (Theodore Roosevelt)   มันสเตอร์เบิร์กให้ความสนใจกับการประยุกต์จิตวิทยามาใช้ในการแก้ปัญหาในการทำงานศึกษาความแตกต่างระหว่างบุคคล  โดยมันสเตอร์เบิร์กเชื่อว่าจิตวิทยาสังคมสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับปัญหา ในทางปฏิบัติของอุตสาหกรรมหนึ่งของ มันสเตอร์เบิร์ก ที่นำมาใช้ทุกวันนี้มีการศึกษาเกี่ยวกับการตัดสินใจทำให้คนขับรถบรรทุกมีความปลอดภัย เขาศึกษาอย่างเป็นระบบในลักษณะทั้งหมดของการทำงาน การพัฒนา ห้องปฏิบัติการที่ประดิษฐ์รถบรรทุก และรวมทั้งผู้ปฏิบัติการที่ดีสามารถเข้าใจพร้อมกันทั้งหมดเกี่ยวกับความก้าวหน้าของรถยนต์

สิ่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับ Hugo Munsterberg
       เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในการคิดค้นทฤษฎีองค์การสมัยใหม่เป็นผู้เริ่มต้นวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม เขียนหนังสือชื่อ Psychology and Industrial Efficiency,Hugo Munsterberg  จึงได้ชื่อว่าเป็น   บิดาแห่งจิตวิทยาอุตสาหกรรม

แนวคิดของ  Hugo Munsterberg
          แนวคิดเชิงพฤติกรรม  (The Behavior Viewpoint)  เน้นถึงความสำคัญของการเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์และการจูงใจเพื่อความสำเร็จ
         Hugo Munsterberg   เป็นผู้ริเริ่มวิธีการเกี่ยวกับจิตวิทยาอุตสาหกรรมหรือโรงงาน  หรือการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับบุคคล    เพื่อปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตให้มากที่สุดการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ จะเป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับโน้มน้าวจิตใจหรือดึงดูดใจคนทำงาน
ผลงานของที่สร้างชื่อให้ Hugo Munsterberg   Psychology  and Industrial   Efficiency” 

สาระสำคัญ “Psychology  and Industrial   Efficiency
-  ใช้วิธีการสรรหาบุคลากรที่มีคุณภาพด้านจิตใจและคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดที่จะทำงานนั้น
-  ใช้วิธีการส่งเสริมสภาวะทางจิตวิทยาของคนในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อจูงใจให้คนงานทุกระดับมีความสามารถ 
    สร้างผลผลิตได้อย่างเต็มความสามารถเพื่อก่อให้เกิดผลผลิตสูงสุด และเป็นที่น่าพอใจโดยมีการฝึกอบรมคนงานเพื่อให้
    เกิดการเรียนรู้และนำประสบการณ์ใหม่ๆ มาใช้ทดแทนอย่างเหมาะสม
-  การให้ข้อเสนอแนะในการฝึกอบรมคนงาน  การบรรจุ แต่งตั้ง หรือการทำให้เกิดอิทธิพลต่อคนงานหรือจูงใจเพื่อให้
    เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สูด คือ ค่านิยมร่วมกัน ระหว่างผู้บริหารและคนงาน

แนวคิดและทฤษฎี Mary Parker Follet


Marry Parker Follett

ชื่อทฤษฎี่ : กฎแห่งความเหมาะสมตามสถานการณ์ (Law of Situation)

หลักการและแนวคิด
       เป็นทฤษฎีสมัยปัึจจุบัน มีลักษณะของการวิเคราะห์องค์การในเชิงระบบ Follett เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องในทฤษฎีสมัยปัจจุบันระหว่างปี ค.ศ.1920-1930 ผลงานของเธอเป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตวิทยาของความสัมพัธ์ในองค์การธุรกิจ ที่รวมเอาความสนใจต่าง ๆ ในเรื่องของตัวบุคคลและองค์การ เธอได้เสนอแนะว่าควรจะมีการทำงานต่าง ๆ ให้สำเร็จด้วยการมีจิตใจที่จะร่วมมือประสานกัน โดยเห็นว่าบุคคลทุกคนจะถูกนับว่าเป็นคน ๆ หนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเป็นส่วนหนึ่งของสังคมด้วย จะเห็นว่าการเสนอแนะของ Follett สามารถที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จได้โดยไม่ต้องเสียผลประโยชน์ขององค์การไป สรุปได้ว่า Follett ได้เสนอเป็นหลักการพื้นฐานในการจัดการไว้ ประการ คือ
        1.  ความสำคัญของการติดต่อสื่อสารในแนวราบ (Horizontal Communication)
        2.  การเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการบริหาร (Participative Managent)
        3.  การตัดสินใจที่มีระบบ
        4.  การบริหารที่มีระบบ



กฎการบริหารของ Follett
      1.  กฎของสถานการณ์ (Law of situation)  โดยทำให้หัวหน้า และลูกน้องเข้าใจในสภาพการทำงานที่เป็นอยู่ โดยไม่รู้สึกว่าตนถูกบังคับ เนื่องจากการติดต่อสื่อสารและการเข้ามามีส่วนร่วมในการบรหาร
        2.  กฎของการรวมตัวกัน (Law of Integration)  โดยเห็นว่าเมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นในองค์การ มีทางออกดังนี้
                  -  การครอบงำทางความคิด (Domination)
                  -  การบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมรับ /ประนีประนอม (Compromising)
                  -  การรวมตัวกัน (Integration)

การนำไปใช้
      สามารถนำเอาหลักทฤษฎีและแนวคิดของ Mary Parter Follett ไปใช้ในการทำงานร่วมกัน โดยให้ความสำคัญกับปัจเจกบุคคลในอันที่จะบรรลุซึ่งวัตถุประสงค์ขององค์การ

แนวคิดและทฤษฎี Franklin D.Roosevelt


Franklin D.Roosevelt (FDR)
องค์ประกอบของ New Deal
3 Rs    คือ
1.  Relief
2.  Recovery
3.  Reform
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
1. ปฎิรูประบบเศรษฐกิจและสังคมในช่วงสภาวะวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำ
2.  ให้ประชาชนทุกชนชั้นอยู่ด้วยกันอย่างกลมเกลียวและสันติ
3.  ผลักดันให้เกิดองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศที่เรียกว่าองค์การสหประชาชาติ
ข้อดี และข้อเสียของ New Deal
ข้อดี....
-  เป็นมาตรการที่ช่วยสร้างงานให้ประชาชนและผันเงินเข้าสู่ชนบท
-  มีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ
-  เป็นการจัดการที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่าย
-  เป็นการจัดการใหม่ที่ให้ความหวังแก่คนทั้งประเทศให้สู้กับสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
ข้อเสีย....
1.  เป็นการรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่รัฐบาลกลางมากเกินไป
2.  นโยบายหลาย ๆ โปรแกรมไม่ใช่แนวทางของอเมริกันตามกรอบของรัฐธรรมนูญ
ขั้นตอนการจัดทำ
-  วิเคราะห์ตามสภาวะเศรษฐกิจ โดยเร่งดำเนินการจัดทำในกรณีเร่งด่วนเป็นอันดับแรก
-  ประชุมคณะรัฐบาลและที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้าน
-  กำหนดนโยบายการบริหารจัดการตามวาระเร่งด่วน
-  นำนโยบายสู่ภาคปฏิบัติตามรัฐต่าง ๆ จากส่วนกลาง สู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึงและโปร่งใส
กรณีศึกษา
การบริหารการศึกษาในระดับสถานศึกษาในสหราชอาณาจักร

แนวคิดและทฤษฎี Chester Barnard



CHESTER BARNARD
แนวคิด
Barnard เป็นนักทฤษฎีสมัยปัจจุบัน โดยเขาได้ศึกษาวิเคราะห์องค์การในเชิงระบบตั้งแต่ปี ค..1938 แล้วนำมาเขียนหนังสือชื่อ “The Functions of the Executive” เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับการบริหารองค์การในสมัยปัจจุบัน โดยเห็นว่าองค์การเป็นระบบสังคมที่เปลี่ยนแปลงได้ ภายในระบบดังกล่าวจะมีความเกี่ยวพันที่ประสานกันโดยมีเป้าหมายของการตอบสนองความต้องการส่วนบุคคล และเห็นว่าบุคคลแต่ละคน องค์การ ผู้ขาย และลูกค้า ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อม 
หลักการ
1.  เน้นความสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการ (Informal Organization)
2.  มีการกระจายความพึงพอใจของบุคลากรในองค์การออกไปอย่างเท่าเทียมกัน (The contribution satisfaction equilibrium) : โดยเห็นว่าการสื่อสารในองค์การเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างดุลภาพของความต้องการระหว่างบุคคลกับองค์การ (Inducement) เพื่อโน้มน้าวให้บุคคลทำงานด้วยความต้องการขององค์การ ในจุดที่องค์การต้องสร้างความพึงพอใจแก่บุคคลในการทำงานด้วย
3.  นักบริหารมีหน้าที่สำคัญ คือ
     -  ดูแลติดต่อประสานงานภายในองค์การ
     -  รักษาสมาชิกภายในและชักจูงสมาชิกใหม่
     -  กำหนดเป้าหมายขององค์การ และตีความเพื่อแสดงให้สมาชิกในองค์การได้รับรู้
     -  ใช้ศิลปะเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน
     -  ทำงานด้วยความรับผิดชอบ โดยใช้หลักของศีลธรรม
เครื่องมือนี้คืออะไร/ มีองค์ประกอบอะไร
ชื่อทฤษฎี : องค์การไม่เป็นทางการ (Informal Organization)
        เป็นทฤษฎีการบริหารเชิงพฤติกรรม เป็นระบบความร่วมมือของมนุษย์ในการทำกิจกรรม โดยเน้นปัจจัยสำคัญด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล สร้างแรงจูงใจให้บุคลากรบรรลุเป้าหมายจะทำให้เกิดความร่วมมือจากบุคลากร โดยมุ่งองค์กรเป็นระบบการสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วย
     1. ความสำคัญของพฤติกรรมมนุษย์ (Importance of individual behavior)
     2. ทฤษฎีการให้ความร่วมมือของ Barnard (Barnard theory of compliance)
     3. ทฤษฎีโครงสร้างขององค์การของ Barnard (Barnard theory of organization structure)
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
ความคิดเห็นของ Barnard สามารถที่จะนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม ทั้งในแง่ขององค์การที่เป็นทางการ (Formal Organization) และไม่เป็นทางการ (Informal Organization) ซึ่งผลงานที่สำคัญของ Barnard คือ Functions of the Executive 1938 จากตรรกะทางความคิดที่ว่า องค์การ คือ ระบบความร่วมมือ ดังนั้น ถ้าจะนำองค์การให้บรรลุเป้าประสงค์ ผู้บริหารจัดการจะต้องทำหน้าที่  3 ประการ คือ
        1.  การสร้างและการดำรงรักษาระบบการสื่อสาร
        2.  สร้างความมั่นใจด้านการบริการจากบุคลากรผู้เป็นสมาชิกองค์การ
กำหนดจุดประสงค์และเป้าหมาขององค์การ
ข้อดี
ข้อเสีย
1. ก่อให้เกิดความร่วมมือ (cooperation)ในองค์การ
1.  องค์การไม่เป็นทางการทำให้ยากต่อการควบคุม (สายการบังคับบัญชาไม่ชัดเจน)
2. การทำงานในองค์การเกิดประสิทธิภาพ
    (Efficiency)
2.  หากบุคลากรขาดทักษะด้านการสื่อสารส่งผลให้เกิดปัญหาต่อการปฏิบัติงาน
3. บุคลากรสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้
     อย่างทั่วถึง (เน้นระบบการสื่อสาร)
4. องค์การที่ไม่เป็นทางการทำให้การบริหารองค์การ
     มีความคล่องตัวและมีความยืดหยุ่น (Flexibility)
5. บุคลากรมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน

ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
      ทฤษฎีของ Barnard เป็นทฤษฎีการบริหารจัดการเชิงพฤติกรรม  Barnard  ได้กล่าวถึงหน้าที่ สิ่งที่กระตุ้นจูงใจ (Authority and incentives) เกี่ยวกับบริบทระบบการสื่อสารในองค์กร คือ
      1.  ช่องทางการสื่อสารต้องกำหนดขอบเขตให้แน่นอน
      2.   บุคลากรทุกคนต้องรู้ช่องทางการสื่อสาร
      3.  บุคลากรทุกคนต้องสามารถเข้าถึงช่องทางการสื่อสาร
           ที่เป็นทางการ
     4.  สายบังคับบัญชาการสื่อสารต้องสั้นและตรงให้มากที่สุด
     5.  บุคลากรต้องมีศักยภาพเพียงพอสำหรับการสื่อสาร
     6.  ต้องไม่มีอุปสรรคในสายบังคับบัญชาการสื่อสาร
          เมื่อองค์การปฏิบัติงาน
  7.  การสื่อสารทุกรูปแบบต้องเกิดผลน่าเชื่อถือ
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้าง และได้ผลสรุปอย่างไร
         ทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชน ที่ต้องการสร้างระบบความร่วมมือขึ้นระหว่างองค์การกับคน และองค์การกับสภาพแวดล้อม และจูงใจพนักงานให้ร่วมมือกันทำงาน รวมถึงการสร้างดุลยภาพระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

แนวคิดและทฤษฎี Lyndall Urwick


Lyndall Urwick

            Lyndall Urwick เกิดเมื่อวันที่  มีนาคม 1891 (.. 2434) ที่ Worchectershireประเทศอังกฤษเป็นชาวอังกฤษสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจาก Oxford  จุดเน้นทฤษฎีองค์กร หรือ Organization Theory  การทำงาน  ตามปกติเมื่อพูดถึง Urwick ก็ต้องพูดถึงGulick พร้อมๆกันเพราะผลงานของทั้งสองเป็นที่โด่งดังในเรื่อง  ทฤษฎีองค์กร หรือorganization theory Urwick เสียชีวิตเมื่อ ธันวาคม1983 (.. 2526)

กระบวนการบริหารตามทฤษฎี 

           เป็นที่กล่าวกันว่าแนวความคิดนี้ประยุกต์เพิ่มเติมมาจากแนวความคิดที่ปรมาจารย์Henri Fayol ท่านบัญญัติเอาไว้โดยต่อยอดให้ชัดเจนขึ้น แนวความคิดจึงค่อนไปทาง  bureaucratic   อยู่บ้างใน The      Theory  of Organization มีคำย่อออกมาสู่สายตาชาวโลก คือ POSDCoRB
          P = Planning หรือ การวางแผน
          O = Organizing หรือการจัดองค์กร
          S = Staffing หรือ การจัดคนเข้าทำงาน
          D = Directing หรือ การสั่งการ
        Co = Co-ordinating หรือการประสานงาน
          R = Reporting หรือ การรายงาน
          B = Budgeting หรือการงบประมาณ

แนวคิดและทฤษฎี Harrington Emerson



Harrington Emerson

Harrington Emerson   มีแนวคิดได้นำเอาวิธีการจัดการแบบวิทยาศาสตร์มาบริหารงานคือ การบริหารตามหลักวิทยาศาสตร์นั้น จะต้องมีการค้นพบ และทดลองเป็นอย่างดีว่า วิธีการนั้น ได้ผลจริง เมื่อประเมินผล สามารถบอกได้ว่า อะไรเกิดขึ้น เกิดขึ้นได้อย่างไร เมื่อไหร่ จึงนำเอาข้อมูลเหล่านั้น มากำหนดเป็นหลักการบริหาร  ใช้เพื่อปรับปรุงการจัดการกับประสิทธิภาพของคน โครงสร้าง และเป้าหมายขององค์กร เพื่อผลตอบแทนที่สมเหตุสมผล

องค์ประกอบของหลักประสิทธิภาพ 12 ประการ
1.กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน  (Clearly defined ideals)
2.ใช้หลักเหตุผลทั่วไป พิจารณาจากความน่าจะเป็นไปได้ของงาน  (Common sense)
3.ให้คำแนะนำที่ดี ที่ถูกต้องสมบูรณ์  (Competent counsel)
4.รักษาระเบียบวินัยในการทำงาน  (Discipline)
5.ปฏิบัติงานด้วยความยุติธรรม  (Fair deal)
6.มีข้อมูลพร้อมทำงานที่เชื่อถือได้  (Reliable information)
7.มีการรายงานผลการดำเนินงานทุกระยะ  (Dispatching)
8.มีมาตรฐานงานเสร็จตามเวลา  (Standard  and         Schedule)
9.ผลงานได้มาตรฐาน  (Standardized condition)
10.ดำเนินงานถือเป็นมาตรฐานได้  (Standardized operation)
11.มาตรฐานที่กำหนดสามารถปฏิบัติได้  (Standardized directing)
12. ให้บำเหน็บรางวัล แก่ผู้ปฏิบัติงานดี  (Efficiency reward)

ข้อดี และ ข้อเสีย
ข้อดี 
         ด้วยแนวทางการบริหารแบบนี้ เป็นแบบหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้ผ่านการทดลองมาหลายครั้ง และประเมินผลแล้ว สามารถพิสูจน์ได้ว่า มีประสิทธิผลเพียงไร ซึ่ง Emerson Harrington ได้นำมาใช้ในการบริหารกว่า 200 องค์กร
ข้อเสีย  
        ด้วยแนวคิดนี้ จะมีการแบ่งงานออกเป็นย่อย ๆ จะถือเอาความรวดเร็ว ให้คนทำงานเฉพาะอย่าง ถือความชำนาญเป็นผลงาน ซึ่งอาจต้องสิ้นเปลืองคน

ใครนำไปใช้ และ ผลสรุปเป็นอย่างไร
Emerson C. Harrington ได้นำไปใช้ในการปรับปรุง พัตนากิจการรถไฟสายแซนทาฟ ให้มีประสิทธิภาพ ปรากฎว่าได้ผลดี สามารถประหยัดเงินได้ถึงวันละ 1 ล้านเหรียญ อเมริกัน