วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Visioning


วิสัยทัศน์ ( Visioning

หลักการแนวคิด/ประวัติและความเป็นมา
วิสัยทัศน์ เป็นศัพท์เฉพาะศาสตร์ (Technical Term) เกี่ยวกับการบริหารที่บัญญัติขึ้นจากคำว่า “VISION” ในภาษาอังกฤษ ซึ่งความหมายทั่วไปแปลว่าการเห็น หรือ ภาพแต่ในทางการบริหาร วิสัยทัศน์ (VISION) หมายถึง ความสามารถในการมองเห็นภาพที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ไกลที่สุด และชัดที่สุด
เป็นคำนิยามตามพจนานุกรมว่า พลังแห่งการมองเห็นจินตนาการ การมองไปข้างหน้า การเข้าใจความจริงบนพื้นฐานของข้อเท็จจริง สิ่งที่มองเห็นด้วยตาของตัวเอง หรือพลังแห่งจินตนาการมีผู้ให้คำนิยามคำว่า วิสัยทัศน์ ( Vision) แตกต่างกันออกไปหลายความหมายเช่น หมายถึง การมองการณ์ไกล การมองเห็นถึงขอบเขตลักษณะ การมองเห็นแบบหยั่งรู้ การรู้จักมองไปข้างหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อ พิจารณาจากคำนิยามข้างต้น
สรุปได้ว่า วิสัยทัศน์ (Vision) หมายถึง การมองภาพอนาคตของผู้นำและสมาชิกในองค์กร  และกำหนดจุดหมายปลายทางที่เชื่อมโยงกับภารกิจ ค่านิยม และความเชื่อเข้าด้วยกัน แล้วมุ่งสู่จุดหมายปลายทางที่ต้องการ จุดหมายปลายทางดังกล่าวต้องชัดเจน ท้าทาย มีพลังและมีความเป็นไปได้
           สมมุติว่า     V คือ วิสัยทัศน์ (VISION)
                               I คือ ภาพฝันในอนาคต (IMAGE) และ
                              A คือ การกระทำ (ACTION)
            สามารถเขียนเป็นสมการได้ว่า    V = I + A
เครื่องมือนี้ประกอบด้วยอะไรบ้าง
วิสัยทัศน์จะประกอบด้วยการมองภาพ (Scenario) ใน 3 ลักษณะ ดังต่อไปนี้ คือ
1. ภาพอนาคตที่ปรารถนาจะเกิดขึ้น (Desiraable Scenario)
2. ภาพอนาคตที่น่าจะเกิดขึ้น (Possible Scenario) โดยดูแนวโน้ม (Trend) จากข้อมูลในอดีตและในปัจจุบันว่า จะเป็นไปในทิศทางใดในอนาคต
3.ภาพอนาคตที่เกิดขึ้นจริง (Probable Scenario) จากการทำนาย (Forecast) หลังจากการศึกษาแนวโน้มของข้อมูลในอดีตและปัจจุบันแล้ว

เครื่องมือนี้ใช้เพื่อ
วิสัยทัศน์ เปรียบได้กับแม่ทัพที่มีกล้องส่องทางไกล เพื่อใช้ส่องดูความเป็นไปในสมรภูมิรบเบื้องหน้าว่าเป็นอย่างไร ควรใช้กลยุทธ์ใด ในการทาศึก จึงจะประสบชัยชนะ ดังนั้น ผู้บริการองค์กรที่ดี จาเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ เพื่อกาหนดทิศทางวางนโยบายและกลยุทธ์ของการปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย

ข้อดี/ข้อเสีย ของเครื่องมือ
การกำหนดวิสัยทัศน์จะช่วยให้เกิดผลดี ดังนี้
1. ชี้ทิศทาง เป้าหมายในการทางานให้สาเร็จตามแผนที่วางไว้
2. เป็นตัวกาหนดขอบข่ายของงาน หรือภาระหน้าที่
3. ทาให้บุคลากรต้องทางานทางานให้สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
4. ต้องมีการสร้างขวัญกาลังและใจให้แก่ผู้ร่วมงาน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดี
5. ต้องมีการสร้างทีมงาน เพื่อให้การทางานสาเร็จลุล่วงไปด้วยดี
ผลเสียของการขาดวิสัยทัศน์
ผู้ที่ไม่มีวิสัยทัศน์ คือ ผู้แพ้สำหรับวันนี้ และเป็นผู้ที่ตายแล้วสำหรับวันพรุ่งนี้ และวันต่อๆ ไป ความล้มเหลวโดยมิได้ตั้งใจ คือ นิสัยของผู้ขาดวิสัยทัศน์ ขาดวิสัยทัศน์ จะขาดการป้องกันปัญหาจนเกิดการสะสมซ้อนทับของปัญหาหลายชั้นตามกาลเวลาจนยากจะหาต้นตอและหนทางการแก้ไขได้ครบ ผู้บริหารที่ขาดวิสัยทัศน์ จะไม่มีโอกาสคิดวางแผนในการบุกเบิกสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ  เพื่อพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ เพราะมัวแต่นั่งแก้ปัญหางานประจำวันอยู่เสมอ อันเป็นผลจากการขาดวิสัยทัศน์นั่นเอง

ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
การนำวิสัยทัศน์ไปใช้ได้ 4 ระดับ คือ
1. ตนเองมองภาพอนาคต เกี่ยวกับ อาชีพการงาน เป็นการมองเพื่อตนเอง โดยการมองสภาพภายนอกรอบตัวหน้าที่การงาน หากมีอะไรเปลี่ยนแปลงจะปฏิบัติอย่างไร
2. ตนเองมองภาพอนาคตเกี่ยวกับตนเอง เป็นการมองภายใน มองสุขภาพร่างกายและจิตใจจะพัฒนาร่างกายและจิตใจอย่างไร เป็นการย้อนดีจิตใจ ความผิดหวัง ความสมหวัง ซึ่งมีผลกระทบต่อจิตใจและจะสามารถทำงานภายใต้ความเครียดอย่างไร จะแก้ปัญหาอย่างไร จะพัฒนาอย่างไร ภายใต้สภาวการณ์ที่เปลี่ยนไป
3. การมองภาพอนาคตเกี่ยวกับองค์การ เป็นการศึกษาระบบบริหารที่เหมาะสมกับองค์การเป็นการศึกษาให้รู้ถึงสิ่งที่ เกิดขึ้น ที่มีผลกระทบต่อหน่วยงาน เช่นผลกระทบจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ผลกระทบที่เกิดจากสภาพแวดล้อมทางสังคมที่มีต่อหน่วยงาน บุคลากร ในองค์การในกรณีเช่นนี้จะบริหารงานอย่างไร
4. การมองภาพอนาคตเกี่ยวกับองค์การในระบบสังคมโลก ( Globalization ) เป็นการมองคู่แข่งจากประเทศต่างๆสินค้าที่ผลิตจากประเทศอื่น จะเป็นคู่แข่งจากบริษัทในประเทศใดก็ตาม ซึ่งถ้าผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดีกว่า แต่ราคาถูกกว่า ก็จะได้เปรียบคู่แข่งอื่นๆเป็นต้น

มีใครนำเรื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร

ตัวอย่างธุรกิจน้ำพริกสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน

Vision:“เป็นผู้ผลิตน้ำพริกสำเร็จรูปชั้นนำในอุตสาหกรรม
Mission:ผลิตน้ำพริกสำเร็จรูป ที่มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม
เป้าหมายของกิจการ :สร้างตราสินค้าน้ำพริกแม่อุษา ให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง

ตัวอย่างธุรกิจโรงพิมพ์

วิสัยทัศน์:โรงพิมพ์ อินเฮ้าส์ จะเป็นผู้ชำนาญงานพิมพ์ที่มีคุณภาพ

พันธกิจ:โรงพิมพ์ อินเฮ้าส์ จะพัฒนาระบบการพิมพ์ และขบวนการออกแบบสิ่งพิมพ์ให้ได้มาตรฐาน และทันสมัย

เป้าหมาย  1.มุ่งประกอบธุรกิจโดยคำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้าตลอดจนสามารถส่งมอบงานให้กับลูกค้าได้ตามเวลานัดหมาย  98%  2. มีอัตราการเพิ่มของรายได้ 10% ต่อปี


กรณีศึกษา
การกำหนดวิสัยทัศน์    พันธกิจ   และเป้าหมาย ( Vision , Mission & Goals )
http://www.thaifranchisecenter.com/download_file/files/1Production.doc

ผู้จัดทำ เอกวินิต พรหมรักษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น